วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สารอาหารคืออะไร


สารอาหาร (Nutrients)


สารอาหาร  หมายถึง สารเคมีทีมีอยู่ในอาหาร มี 5 ประเภท คือ

1.โปรตีน (Proteins) นับเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของเซลล์ทุกชนิด โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อ เลือด เอนไซม์ ฮอร์โมน แอนติบอดี เป็นต้น หน่วยโครงสร้างเบื้องต้นของโปรตีนคือกรดอะมิโน  ซึ่งมีอยู่ในร่างกายประมาณ 20 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
 1.1 กรดอะมิโนจำเป็น หมายถึง กรดอะมิโนที่ร่างกายต้องได้จากสารอาหารเท่านั้น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ได้แก่ ลูซีน ไอโซลูซีน เมไทโอนีน เวลีน เป็นต้น
1.2 กรดอะมิโนไม่จำเป็น หมายถึงกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร

2. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) จัดเป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในแต่ละโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตมีไฮโดรเจนและออกซิเจนอยู่ในอัตราส่วนสองต่อหนึ่ง   สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือCn H2n On
 คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
2.1. โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide)
2.2. ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide)
2.3. พอลีแซ็กคาไรด์  (polysaccharide)

3.ไขมัน (Fats) สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี
    

4. เกลือแร่ (Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด


5.วิตามิน (Vitamin) เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในปริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด

วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ
วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A, D, E, K 


วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ B, C




วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

อาหารหลังการแข่งขัน


อาหารหลังการแข่งขัน



 



                 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน นักกีฬาควรดื่มน้ำทดแทน โดยใช้หลักการที่ว่าน้ำหนักตัวหายไปเท่าไร ก็ให้ดื่มน้ำทดแทนไปเท่านั้น หรือคือเท่ากับ 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวที่หายไปเนื่องจากการแข่งขัน และควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (ร้อยละ 60 - 70)เพื่อไปทดแทนไกลโคเจนที่หายไปในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 1 วัน นักกีฬาจึงจะสามารถเข้าแข่งขันในรอบต่อไปโดยไม่เหนื่อยล้า แต่ถ้านักกีฬากินอาหารที่มีไขมันและโปรตีนสูง ก็จะทำให้การสะสมไกลโคลเจนในกล้ามเนื้อเป็นอย่างล่าช้าหรือใช้เวลามากกว่า 7 วัน


สำหรับนักกีฬาบางประเภทโดยเฉพาะ ว่ายน้ำ ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน มวยสากล การแข่งขันไม่ได้
สิ้นสุดในครั้งเดียว บางครั้้งอาจจำเป็นต้องลงแข่งขันแทบทุกวัน ดังนั้นอาหารหลังการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีความสำคัญมาก เพื่อให้นักกีฬาสามารถฟื้นสภาพได้เร็ว นั่นคือภายในครึ่งชั่วโมงหลังการแข่งขันควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่มีดัชนีน้ำตาลสูง 50 กรัม เช่น กล้วยน้ำว้า ข้าวสาย แครกเกอร์ นมไขมันต่ำ การกินอาหารที่มีดัชน้ำตาลสูงจะทำให้ร่างกายย่อยและดูดซึมได้รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้การสะสมไกลโคลเจนเป็นไปอย่างรวดเร็วและหลังจากนั้นอีก 2 ชั่วโมง 2 - 3 ครั้ง โดยกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตปานกลาง 50 กรัม นอกจากนี้การกินโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะร่วมกับคาร์โบไฮเดรตภายใน 1 ชั่วโมงหลังการแข่งขัน จะทำให้กล้ามเนื้อได้รับกรดอะมิโนและสะสมเป็นโปรตีนรวมถึงไกลโคลเจนร่วมด้วย


วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

อาหารระหว่างการแข่งขัน

อาหารระหว่างการแข่งขันหรือระหว่างการออกกำลังกาย

              สิ่งที่ควรกระทำในระหว่างการแข่งขันคือ การทดแทนเหงื่อที่สูญเสียไปด้วยการดืมน้ำ สำหรับนักกีฬาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแข่งขันนานๆ มีการสูญเสียเหงื่อมาก เช่น นักกีฬาฟุตบอล ซึ่งในช่วงพักครึ่ง ควรดื่มน้ำหวานหรือเกลือแร่ที่มีความเข้มข้นน้อยจะช่วยเพิ่มพลังและความทนทานแก่นักกีฬาได้ 
              ในสถานการณ์จริงนักกีฬาไม่ทราบหลอกว่า ควรดื่มน้ำมากน้อยเพียงใด จึงจะทดแทนเหงื่อที่สูญเสียไปได้ ฉะนั้น นักกีฬาจึงควรดื่มน้ำอยู่สม่ำเสมอในระหว่างการเล่นกีฬาโดยฌฉพาะการเล่นกีฬาในที่ที่มีอากาศร้อนหรือกลางแจ้ง
               ในช่วการออกกำลังกาย ประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหารจะลดน้อยลง ดังนั้นช่วงนี้จึงจำกัดความเข้มข้นของปริมาณคาร์โบไฮเดรตไม่ให้เกินร้อยละ 8 และควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ทุกอย่าง เพราะน้ำผลไม้ส่วนใหญ่มีความเข้มข้นสูงทำให้ดูดซึมได้ช้า พยายามดื่มน้ำที่ไม่เย็นจัดเพื่อให้สะดวกต่อการดื่มบ่อยๆ
สรุปสิ่งที่ควรปฏิบัติในระหว่างการแข่งขันคือ
1. ถ้าการแข่งขันไม่ถึง1ชั่วโมง การดื่มน้ำเปล่าอย่างเดวก็เพียงพอ
2. ถ้าแข่งขันเกิน 1 ชั่วโมงควรดื่มน้ำผสมเกลือแร่ที่มีคาร์โบไฮเดรตผสม 6-8 กรัม/น้ำ100 ซีซี จำนวน 150 - 350 ซีซี ทุก 15 - 20นาที
3. น้ำดื่มควรผสมเกลือแร่ที่มีโซเดียมระหว่าง 10 - 30 มิลลิโมล/ลิตร เพื่อป้องกันภาวะการขาดโซเดียมในเลือด

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

โภชนาการทางการกีฬา

อาหารก่อนการแข่งขัน



         ในช่าง1สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน 
               นักกีฬาควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ไม่ควรฝึกซ้อมหนักจนเกินไป เพราะการฝึกซ้อมอย่างหนักจะทำเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และเกิดความล้าต่อนักกีฬา ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถภาพของนักกีฬาทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดน้อยล
          ก่อนการแข่งขัน 3-7 วัน
             นักกีฬาจำเป็นต้องเติมไกลโครเจนให้แก่กล้ามเนื้อให้มากที่สุด จากปกติร้อยละ 120 การสะสมไกลโคเจนนี้ทำได้โดยการรับประทานคาร์โบไฮเดรต 8-10 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาหารหลักจึงควรเป็นแป้ง ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน เพราะน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกายขณะที่ไม่มีการออกกำลังกายน้้นจะถูกนำไปสร้างเป็นไขมันและสะสมอยู่ในส่วนต่างๆของร้างกายซึ่งถ้าไปสะสมอยู่ในหลอดเลือดมากๆ ก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันอุตตันในหลอดเลือดนั่นเอง หากชอบหวานควรเติมความหวานจากน้ำผลไม้ เพราะน้ำตาลฟลักโทสจากน้ำผลไม้จะถูกนำไปสร้างเป็นไกลโครเจนได้
             การกินอาหารประเภทแป้งเป็นการค่อยๆเติมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย กลไกการทำงานก็คือ แป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลแล้วค่อยๆกลายเป็นไกลโครเจนที่สะสมเพื่อใช้ในการแข่งขันต่อไป
             ทั้งนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มพลังและระดับความทนทานของร่างกา
         ก่อนการแข่งขัน1 วัน
             ควรหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ย่อยอยาก เพราะการกินอาหารประเภทโปรตีนสูงในช่วง 1วันก่อนการแข่งขันนี้ ไม่มีแรงในการแข่งขัน เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานสำหรับการย่อย ดูดซึมและ metabolism ของโปรตีน ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานออกไป
        ก่อนการแข่งขัน 3-4 ชั้วโมง
            สารอาหารที่จำเป็นที่สุดในช่วงนี้คือ คาร์โบไฮเดรต 200 - 300 กรัม และต้องเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ใยอาหารต่ำ เช่น ข้าวสวย ผลไม้สด และดื่มน้ำ 400 -500 ซีซี
       ภายใน 60 นาทีก่อนการแข่งขัน
           ไม่ควรดื่มน้ำหวาน หรือคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เพราะมีรายงานวิจัยที่ระบุถึงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำภายใน 15-30 นาทีได้รับคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง อาการคือ ใจสั่น อ่อนเพลีย หน้ามืด และหมดสติได้ แต่ในทางกลับกันคือหากเราได้รับคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ย่อยง่าย ไขมันและใยอาหารต่ำ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างช้าๆ เพื่อป้องการภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
      ภายใน 30 นาทีก่อนการแข่งขัน 
           ควรดื่มน้ำ 400-500 ซีซี เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
         


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติปลื้มจิตร์ ถินขาว นักกีฬาวอลเลย์คนเก่งของไทย

ปลื้มจิตร์ ถินขาว ประวัตินักวอลเลย์คนเก่งของไทย



          แม้ว่านักตบสาวไทยจะไม่สามารถผ่านเข้าแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์ กรังปรีซ์ 2013 รอบสุดท้ายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ แต่แฟนกีฬาชาวไทยก็ยังคงให้กำลังใจสาวไทยกันอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะปลื้มจิตร์ ถินขาว นักวอลเลย์สาวห้าว เจ้าของตำแหน่งบอลกลาง จะได้รับความสนใจจากแฟนกีฬามากที่สุด เห็นได้จาก จำนวนไลค์ใน เฟซบุ๊ก Pleumjit Thinkaow [ปลื้มจิตร์ ถินขาว] Fan Page มีจำนวนเกือบ 300,000 ไลค์ มากกว่านักวอลเลย์บอลสาวคนอื่น ๆ ดังนั้น เราจะมาทำความรู้จักกับปลื้มจิตร์กันมากขึ้นครับ

          ปลื้มจิตร์ ถินขาว หรือ หน่อง เกิดเมื่อวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ปัจจุบันอายุ 30 ปี เป็นชาวอ่างทองโดยกำเนิด จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม และมัธยมปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) จากนั้นได้ต่อเรียนต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC) 

          สำหรับการเดินทางสู่เส้นทางนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงนั้น ปลื้มจิตร์ เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่อายุ 14 ปี ขณะที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดอ่างทอง ก่อนจะไต่ระดับก้าวขึ้นมาติดทีมชาติไทยได้สำเร็จ โดยเล่นตำแหน่งบอลกลาง (Middle) และเธอเป็นหนึ่งในนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยที่ได้เซ็นสัญญาไปเล่นวอลเลย์บอลอาชีพในต่างประเทศ ขณะนี้สังกัดทีม Igtisadchi BAKU ประเทศอาเซอร์ไบจาน (พ.ศ. 2555-2556) โดยที่ก่อนหน้าก็เคยเล่นให้กับสโมสรในประเทศจีน, ตุรกี และรัสเซีย มาแล้ว

          ทั้งนี้ มีอยู่ช่วงหนึ่งระหว่างที่ปลื้มจิตร์ไปเล่นในลีกอาชีพที่ประเทศอาเซอร์ไปจาน ก็ได้เกิดข่าวลือแปลก ๆ ว่า ปลื้มจิตร์เสียชีวิตในรถยนต์ สร้างความปั่นป่วนแก่แฟนกีฬาไทยจนต้องเช็กข่าวกันเจ้าละหวั่น แต่สุดท้ายปลื้มจิตร์ก็ออกมาสยบข่าวลือผ่านคลิปเองว่า ยังปลอดภัยดีอยู่ ทำให้แฟนกีฬาชาวไทยที่เป็นห่วงปลื้มจิตร์ต่างโล่งใจกันเป็นแถบ

ปลื้มจิตร์ ถินขาว

ประวัติ ปลื้มจิตร์ ถินขาว

        ชื่อ ปลื้มจิตร์ ถินขาว

        ชื่อเล่น หน่อง

        เกิด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526

        อายุ 30 ปี 


http://hilightad.kapook.com/img_cms2/dookdik/198.gif การศึกษา

          มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม

          มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

          ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC)

          ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC) 


http://hilightad.kapook.com/img_cms2/dookdik/198.gif ผลงานและรางวัล ของ ปลื้มจิตร์ ถินขาว

          แชมป์ Asian Cup ปี 2012 ที่ประเทศคาซัคสถาน

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 26 อินโดนีเซีย ปี 2011

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ลาว ปี 2009

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ไทย ปี 2007

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ฟิลิปปินส์ ปี 2005

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 เวียดนาม ปี 2003

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 มาเลเซีย ปี 2001

          อันดับ 13 (จาก 24 ทีม) FIVB Women's World Championship ปี 2010 ที่ญี่ปุ่น

          แชมป์ Asian Women's Volleyball Championship ครั้งที่15 เวียดนาม 2009

          อันดับ 3 Woman Senior Asian Volleyball Championship ปี 2007 (พ.ศ. 2550) ที่ประเทศไทย (ได้สิทธิ์แข่ง World Cup2007 ที่ญี่ปุ่น และ Volleyball World Grand Prix 2008)

          แชมป์ปริ๊นเซส คัพ แสงโสมวีเม่น วอลเลย์บอล อินวิเตชั่น ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2549) ที่ประเทศไทย คว้าอันดับ 1 ได้ในรอบ 24 ปี โดยเอาชนะเวียดนามได้ 3 - 0 เซต

          อันดับ 10 (จาก 12 ทีม) ในการแข่งขัน Volleyball World Cup 2007 ที่ประเทศญี่ปุ่น

          พ.ศ. 2551 อันดับ 3 การแข่งขันเอเชียน คัพ ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย


http://hilightad.kapook.com/img_cms2/dookdik/198.gif เข้าร่วมการแข่งขัน Volleyball World Grand Prix

          พ.ศ. 2556 (อันดับ 13)
          พ.ศ. 2555 (อันดับ 4)
          พ.ศ. 2554 (อันดับ 6)
          พ.ศ. 2553 (อันดับ 10)
          พ.ศ. 2552 (อันดับ 8)
          พ.ศ. 2551 (อันดับ 11)
          พ.ศ. 2549 (อันดับ 11)
          พ.ศ. 2548 (อันดับ 12)
          พ.ศ. 2547 (อันดับ 10)
          พ.ศ. 2546 (อันดับ 9)
          พ.ศ. 2545 (อันดับ 8)


http://hilightad.kapook.com/img_cms2/dookdik/198.gif เข้าร่วมการแข่งขัน Woman Senior Asian Volleyball Championship

          พ.ศ. 2554 (อันดับ 4)
          พ.ศ. 2552 (อันดับ 1)
          พ.ศ. 2550 (อันดับ 3)
          พ.ศ. 2548 (อันดับ 6)
          พ.ศ. 2546 (อันดับ 4)
          พ.ศ. 2544 (อันดับ 3)


http://hilightad.kapook.com/img_cms2/dookdik/198.gif เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก (UNIVERSIADE)

          ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อันดับ 4)

          ทั้งหมดนี้ ก็คือประวัติของ หน่อง ปลื้มจิตร์ ถินขาว นักวอลเลย์สาวหมายเลข 5 ของไทย

































ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก แฟนเพจ ปลื้มจิตร์ ถินขาว, Instagram Pleumjit