วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของเลือด

หลอดเลือด&ส่วนประกอบของเลือด
 
       เลือดเป็นของเหลวสีแดงจะไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดทั่วร่างกาย จะมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายโดยผ่านเส้นเลือด ซึ่งเลือดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.น้ำเลือดหรือพลาสมา
2.เซลล์เม็ดเลือด
เม็ดเลือด แบ่งออกเป็น เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว



เม็ดเลือดแดง


      มีหน้าที่นำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีลักษณะกลมแบนและมีรอยเว้าตรงกลาง


เม็ดเลือดขาว


      มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย คอยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ


เกล็ดเลือด


      มีหน้าที่สำคัญในการห้ามเลือด ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวและรวมตัวกันอุดบริเวณที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือด


พลาสมาหรือน้ำเลือด


     ทำหน้าที่ควบคุมความดันเลือด ปริมาณของเลือด ป้องกันเลือดออก

 พลาสมาประกอบด้วย 

- น้ำประมาณ ร้อยละ 92 
-โปรตีนประมาณ ร้อยละ 8 ซึ่งโปรตีนส่วนนี้มีความสำคัญในการรักษาสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับท่านที่สนใจอยากจะบริจาคเลือดให้แก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ก็สามารถทำได้ถ้าหากว่าตรวจแช็คสภาพร่างกายแล้วมีความพร้อมเพราะนั้นถือว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่อีกทางหนึ่ง




ความเป็นมาของซีเกมส์

        กีฬาซีเกมส์ (อังกฤษ: South-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสองปี (ปีเว้นปี) ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA)

ประวัติความเป็นมาของซีเกมส์

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) องค์กรการกีฬา ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาในระดับภูมิภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย          
 - ไทย ประเทศไทย
 - สหพันธรัฐมาลายา มลายา
 - ประเทศเวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 
 - ลาว ราชอาณาจักรลาว
 - ประเทศพม่า พม่า และ
 - ประเทศกัมพูชา ราชอาณาจักรเขมร 
(หลังจากนั้น สิงคโปร์ สิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย) โดยตกลงร่วมกันว่า จะจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างภูมิภาคขึ้นในทุกสองปี คือกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือเซียปเกมส์ (SEAP Games) 
ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครของไทย ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬา จากประเทศไทย มลายา สิงคโปร์ เวียดนามใต้ ลาว และพม่า เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด รวมทั้งสิ้น 527 คน สำหรับกัมพูชา เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)
จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น กีฬาซีเกมส์ ดังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งมีมติให้
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ และ
บรูไน บรูไน เข้าเป็นสมาชิกและกรรมการสมาพันธ์อย่างเป็นทางการ จึงได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 9 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เป็นครั้งแรกด้วย และในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมาพันธ์ฯ มีมติให้
ประเทศติมอร์-เลสเต ติมอร์ตะวันออก เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่กรุงฮานอยของเวียดนาม
สัญญาลักษณ์ซีเกมส์ครั้งที่27
 
       และล่าสุด ประเทศพม่ารับหน้าที่ในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่27 รอส่งแรงใจแรงเชียร์ให้นักกีฬาไทยเป็นเจ้าเหรียญทองกันด้วยน้ะค้า... ^_____^

วิธีการลดความอ้วนที่ได้ผลที่สุด

      นักโภชนาการแนะนำว่า วิธีการลดความอ้วนที่ได้ผลที่สุด คือ"การเลือกรับประทานอาหารออร์แกนิกที่ไม่ผ่านการใส่ปุ๋ยหรือสารเคมี และเน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ" ซึ่งการันตีได้เลยว่า นอกจากลดอ้วนได้แล้ว ร่างกายยังแข็งแรงอีกด้วย[ การนับ‘แคลอรี’ ไม่ช่วยลดอ้วนสักเท่าไหร่ ]
เล่นเอาสาวๆ ที่กำลังพยายามลดน้ำหนักด้วยการนับแคลอรีอาหารที่กินไม่เป็น ภายหลังนักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตตของสหรัฐ เปิดเผยผลการศึกษาพบว่า การนับแคลอรีอาหารโดยอ้างอิงจากฉลากอาหารนั้นไร้ประโยชน์ เนื่องจากแต่ละคนมีระบบย่อยที่แตกต่างกัน และที่สำคัญระบบการคำนวณแคลอรีในปัจจุบันนั้นล้าสมัยไปแล้ว
ผลทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่บริโภคถั่วอัลมอนด์ที่ระบุไว้บนฉลากว่ามี 170 แคลอรี ทว่าจำนวนพลังงานที่ร่างกายได้รับของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป โดยบางรายมีการดูดซึมพลังงานเพียง 129 แคลอรีเท่านั้น
ขณะที่หากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ร่างกายของกลุ่มตัวอย่างบางคนกลับดูดซึมพลังงานมากกว่าที่ฉลากระบุไว้อีกด้วย
สุขภาพดี ชีวีมีสุข

       งานนี้นักโภชนาการแนะนำว่า วิธีการลดความอ้วนที่ได้ผลที่สุด คือ "การเลือกรับประทานอาหารออร์แกนิกที่ไม่ผ่านการใส่ปุ๋ยหรือสารเคมี และเน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ" ซึ่งการันตีได้เลยว่า นอกจากลดอ้วนได้แล้ว ร่างกายยังแข็งแรงอีกด้วย


อีกหนึ่งวิธีในการลดความอ้วนแบบไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมาดูกันเลยดีกว่าว่าทำยังไงดีน้า

5 วิธีการลดความอ้วนแบบธรรมชาติ

สุขภาพดีไม่มีขาย
1.ไม่กินข้าวมื้อเย็น หรือทานอาหารพวกผักและผลไม้แทน 
         สำหรับมื้อเย็นแล้วให้หลีกเลี่ยงการทานข้าวที่มากเกินไป และหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง (โดยเฉพาะข้าวไม่ควรทานมากเกินไป) ไขมัน อาหารทอดทั้งหลายนี้ต้องเลี่ยงเลย ควรทานเป็นผลไม้ สลัดผัก อาหารจำพวกเส้นใย น้ำผลไม้ เป็นต้น
2. ในหนึ่งสัปดาห์ควรเลือก 1 วัน สำหรับงดเนื้อสัตว์ ไขมัน ข้าว
         แล้วกินแต่ผลไม้และธัญพืชอย่างเดียวทั้งวัน เช่น มะละกอสุก กล้วย แอบเปิล ถั่วต่างๆ เป็นต้น ไม่ควรทานผลไม้ที่ให้แคลลอรี่สูงหรือพลังงานสูง เช่น ทุเรียน
3.อาหารทุกมื้อพยายามเคี้ยวอาหารช้า ๆ           
         การที่เราทานอาหารด้วยความรวดเร็วจะทำให้เรากินได้มากเกินพิกัดโดยที่ไม่รู้ตัว ที่สำคัญสาวๆ จำไว้ให้ดีว่าไม่ควรทานอาหารหลัง 6 โมงเย็น หรือช่วงกลางคืนดึกดื่นเป็นอันขาด เพราะช่วงนี้แหละที่ทำให้เราต้องเจอกับปัญหาอ้วน ๆๆๆ ควรทานอาหารให้พอเหมาะ โดยเฉพาะข้าวอย่าทานมาก ควรทานผักให้มากๆ แทน หากรู้สึกไม่อิ่มให้ทาน น้ำผลไม้หรือ ควรหันมาทานผลไม้ ธัญพืช เพิ่มเติมเข้าไป แต่อย่าลืมนะค่ะว่าเราต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่เราไม่จำเป็นต้องทานในปริมาณมากๆ เดี๋ยวจะอ้วนเอา
4. หมั่นดื่มน้ำผลไม้ก่อนทานอาหาร            
         ก่อนทานอาหาร ควรดื่มน้ำผลไม้ หรือ ผลไม้สดก็ได้ เช่น น้ำส้ม เพราะวิตามินที่มีอยู่ในน้ำส้มจะช่วยดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ น้ำองุ่น ในองุ่นนั้นมีแร่ธาตุเสริมให้เนื้อเยื่อแข็งแกร่งและสดใสเพราะอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งการดื่มน้ำผลไม้หรือผลไม้ก่อนทานอาหารจะช่วยให้เราอิ่มอาหารเร็วขึ้น ทำให้ไม่ต้องทานอาหารเยอะเกินความจำเป็น ช่วยให้ไม่อ้วน
5. การเคลื่อนไหวร่างกายหรือการออกำลังกาย            
         พยายามหาเวลาหรือกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวจนได้เหงื่อ เช่นการออกกำลังกาย เล่นกีฬา การทำงานบ้าน เป็นต้น ช่วงแรกเริ่มต้นวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็ยังดี แล้วพอร่างกายเริ่มปรับเข้าที่ก็เพิ่มการออกกำลังกายเป็นวันละ 1 ชั่วโมง จะช่วยเผาผลาญไขมันได้ดี แถมได้สุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย ซึ่งการออกกำลังกายถือเป็นอีกสูตรสำเร็จที่ทำให้ผู้ที่ต้องการลดความอ้วนสามารถทำฝันเป็นจริงได้

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการเขียนวิจัย

มาทำวิจัยกันเร็ว

โครงร่างการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี
1.   ชื่อเรื่อง                         
2.   ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย                          
3.   วัตถุประสงค์ของการวิจัย                           
4.   คำถามของการวิจัย                          
5.   ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                          
6.   สมมติฐาน*และกรอบแนวความคิดในการวิจัย*                          
7.   ขอบเขตของการวิจัย                          
8.   การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย*                          
9.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย                          
10.ระเบียบวิธีวิจัย                          
11.ระยะเวลาในการดำเนินงาน                          
12.งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย                          
13.บรรณานุกรม                          
14.ภาคผนวก*                          
15.ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย
วิจัยไม่ยากอย่างที่คิด
1.   ชื่อเรื่อง (the title)       ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร
   นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา หัวข้อ คือ
         1.1    ความสนใจของผู้วิจัย
                  ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
        1.2    ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
                  ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
                  โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
        1.3    เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
                  เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
                  ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
                  บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
        1.4    ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
                  ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
                  ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ
                  ระเบียบวิธีของการวิจัย
2.   ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)
      อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
 
3.   วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives)
      เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
        3.1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
                  ตัวอย่างเช่น
                  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        3.2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  3.2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  3.2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
 
4.   คำถามของการวิจัย (research question )
        เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
        คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
5.   ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (review of related literatures)
        อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
        หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit & Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้ โดยการให้ตอบคำถามต่อไปนี้
        5.1    รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศึกษามาก่อนแล้ว
                  หรือไม่
                  5.1.1    รายงานนั้นได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งตามความ
                  เป็นจริงแล้วควรใช้แหล่งเอกสารปฐมภูมิ (ต้นฉบับ) ให้มากที่สุด
                  5.1.2    รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาครบหมดหรือไม่
                  5.1.3    รายงานได้ครอบคลุมเอกสารใหม่ๆหรือไม่
                  5.1.4    รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น หรือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม
                                มากเกินไป และมีการเน้นผลการวิจัยด้านปฏิบัติจริงๆ น้อยไปหรือไม่
                  5.1.5    รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแต่ลอก
                                ข้อความจากเอกสารต้นฉบับมาเรียงต่อกันเท่านั้น
                  5.1.6    รายงานนั้นเป็นแต่เพียงสรุปผลการศึกษาที่ทำมาแล้วเท่านั้น หรือเป็นการเขียนใน
                                เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ที่ศึกษามาแล้วหรือไม่
                  5.1.7    รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะที่เชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความ
                                คิดอย่างชัดเจนมากน้อยแค่ไหน
                  5.1.8    รายงานได้นำผลสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้
                                ทั้งหมด มาเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะศึกษามากน้อยแค่ไหน
        5.2    รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิดหรือไม่
                  5.2.1    รายงานได้เชื่อมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
                  5.2.2    รายงานได้เปิดช่องโหว่ให้เห็นถึงกรอบแนวคิดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
                  5.2.3    รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่
 
6.   สมมติฐาน (Hypothesis)และกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)
        การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
        นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
 
7.   ขอบเขตของการวิจัย
        เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
 
8.   การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (operational definition)
      ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น
 
9.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application)
        อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
 
10.ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)
        เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
        10.1  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
        10.2  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
        10.3  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        10.4  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        10.5  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        10.6  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้
 
11.ระยะเวลาในการดำเนินงาน
        ผู้วิจัยต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดว่าจะใช้เวลานานเท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการวิจัย วิธีการเขียนรายละเอียดของหัวข้อนี้อาจทำได้ 2 แบบ ตามที่แสดงไว้ในตัวอย่างต่อไปนี้ (การวิจัยใช้เวลาดำเนินการ 12 เดือน)
        ตัวอย่างที่ 1
                  ก.   ขั้นตอนการเตรียมการ : ค้นหาชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะทำ (3 เดือน)
                         1. ศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                         2. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ขออนุมัติดำเนินการ,ติดต่อผู้นำชุมชน,เตรียมชุมชน)
                             และรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น
                         3. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                         4. จัดหาและฝึกอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                         5. ทดสอบและแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                  ข.   ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (2 เดือน)
                         6. เลือกประชากรตัวอย่าง
                         7. สัมภาษณ์ประชากรตัวอย่าง
                  ค.   ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (3 เดือน)
                         8. ลงรหัส ตรวจสอบรหัส นำข้อมูลเข้าเครื่อง  และทำการบรรณาธิการด้วยเครื่อง
                             คอมพิวเตอร์
                         9. เขียนโปรแกรมเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
                             รวมทั้งแปลผลข้อมูล
                  ง.   การเขียนรายงาน และการเผยแพร่ผลงาน (4 เดือน)
                         10.เขียนรายงานการวิจัย 3 เดือน
                         11.จัดพิมพ์ 1 เดือน

12.   งบประมาณ (budget)
        การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        12.4 ค่าครุภัณฑ์
        12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        12.6 ค่าพิมพ์รายงาน
        12.7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        12.8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

13.เอกสารอ้างอิง (references)หรือ บรรณานุกรม (bibliography)
        ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

14.ภาคผนวก (appendix)
        สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

15.ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย (biography)
        ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัย ซึ่งถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในตำแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ
        ประวัติผู้ดำเนินการวิจัย ควรประกอบด้วยประวัติส่วนตัว (เช่น อายุ เพศ การศึกษา) ประวัติการทำงาน และผลงานทางวิชาการต่างๆ


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พักผ่อนไม่เพียงพอ โรคหัวใจมาเยือน

งานศึกษาในญี่ปุ่นพบว่าการ นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

       นักวิจัยบอกด้วยว่า การนอนให้พอเพียงเป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกัน โรคอ้วน โรคเบาหวานและพร้อมกันนั้นยังลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจลง 

      ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารด้านการแพทย์ต่างประเทศ “อาร์ไคฟ์ ออฟ อินเทอร์นัล เมดิซีน” ฉบับ 10 พ.ย. รายงานการศึกษาของคาซูโอะ เอกูชินักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยการแพทย์จิชิ ในญี่ปุ่นและคณะ ได้ติดตามการนอนของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง 1,255 ราย อายุเฉลี่ย 70.4 ปี และติดตามเป็นเวลาโดยเฉลี่ย 50 เดือน 
       นักวิจัยสังเกตระยะเวลาการนอนของคนไข้ ความดันโลหิตในช่วงกลางวันและกลางคืน การเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เช่น ลมปัจจุบัน อาการหัวใจวาย หัวใจวายเฉียบพลัน พบว่าระหว่างการติดตามนั้น มี 99 ราย ที่เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งพบว่าระยะเวลาการนอนที่น้อยกว่า 7.5 ชั่วโมงมีส่วนเกี่ยวพันกับการเกิดโรคนี้ขึ้นมา 
      “ปรากฏการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้น 2.4 ต่อ 100 คน/ปี ในกลุ่มผู้ถูก ศึกษาที่นอนน้อยกว่า 7.5 ชั่วโมง และ 1.8 ต่อ 100 คน/ปีในกลุ่มคนที่มีระยะเวลา นอนนานกว่า” คณะนักวิจัยรายงาน
 

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรีรวิทยา (Physiology)


สรีรวิทยา (Physiology) หมายถึง การศึกษาหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีชีวิตในร่างกายมนุษย์


การออกกำลังกาย (Exercise) หมายถึง การทำงานของกล้ามเนื้อลาย เพื่อให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวตามความมุ่งหมาย โดยมีการทำงานของระบบต่างๆช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (Physiology of Exerciseจึง หมายถึง ศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆที่ตอบสนอง (Response) หรือปรับตัว (Adaptation) ต่อการออกกำลังกายในสภาวะต่างๆ


การออกกำลังกาย (Exercise) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การออกกำลังกายแบบเฉียบพลัน เป็นการออกกำลังกายเพียงครั้งเดียว
2. การออกกำลังกายทุกวันหรือเป็นเดือน โดยกระทำซ้ำๆกัน หวังผลการฝึกเพื่อความแข็งแรง หรือสมรรถภาพเพื่อการแข่งขัน เป็นต้น



 

สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (Physiology of Exerciseจะศึกษาเกี่ยวกับ

1. กลไกการตอบสนองและการปรับตัวต่อการออกกำลังกายและการฝึกซ้อม
2. การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
3. การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อ
4. การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
5. การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ - ไหลเวียนเลือด
6. การเปลี่ยนแปลงของระบบควบคุมอุณหภูมิ
7. ผลทางสรีรวิทยา จาการฝึกทางกาย

โครงสร้างของร่างกาย

ระบบกระดูกและข้อต่อที่สำคัญต่อการออกกำลังกาย




ส่วนประกอบของกระดูก
              กระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างเป็นกระดูกพรุนและกระดูกทึบ ระบบกระดูกหรือระบบโครงสร้าง ประกอบด้วย
1.กระดูกแข็ง (Bone) มี 206ชิ้น ทั้งร่างกายประกอบกันเป็นโครงร่าง
2. กระดูกอ่อน (Catilage)
3. เอ็น (ligament)
4. ข้อต่อ (Joint)

หน้าที่ของกระดูกโดยทั่วไป
1. เป็นโครงสร้างของร่างกายร่วมกับกล้ามเนื้อ 
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นและพังพืด
3. ป้องกันอันตรายแก่อวัยวะภายในร่างกาย
4. ผลิตเม็ดเลือด
5. เป็นแหล่งสำรองแคลเซียมของร่างกาย
6. ช่วยในการเคลื่อนไหว

 กระดูกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
   1. กระดูกแกนกลาง (Axial Skeleton) มี80 ชิ้น ประกอบด้วย 
       - กระดูกบริเวณศรีษะ (Skull) 29 ชิ้น
       - กระดูกลำตัว (Trunk) 51 ชิ้น
   2. กระดูกรยางค์หรือแขน - ขา (Appendicular skeleton) มี 126 ชิ้น ประกอบด้วย
       - กระดูกแขน (Upper extremities) มี 64 ชิ้น
       - กระดูกขา (Lower extremities ) มี 62 ชิ้น


 

กระดูกจะแนกตามรูปร่างได้ 4 ชนิด (Type of bones)
1. กระดูกยาว (Long bones) 90 ชิ้น
2. กระดูกสั้น (Short bones) 30 ชิ้น
3. กระดูกแบน (Flat bones) 
4. กระดูกรูปร่างแปลก ไม่แน่นอน (Irregular of special bones) 46 ชิ้น

การออกกำลังกายในน้ำ


     การว่ายน้ำได้รับความนิยมจากประชาชน แต่ยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากขาดแคลนสระว่ายน้ำ การว่ายน้ำหรือออกกำลังในน้ำ นอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังบนบก เช่นผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น

การออกกำลังในน้ำให้ประโยชน์อะไรบ้าง
  - ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  - ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
  - กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น และมีความอดทนเพิ่มขึ้น
  - การทรงตัวดีขึ้น
  - ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
  - ใช้ในการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังได้รับอุบัติเหตุ
  - ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการลดน้ำหนัก
  - ลดความเครียด

วิธีออกกำลังกายในน้ำมีอะไรบ้าง
ตัวอย่างท่าการออกกำลังกายในน้ำ

   การเดินหรือการวิ่งในน้ำ น้ำในระดับเอวหรือระดับหน้าอกจะช่วงพยุงน้ำหนักของร่างกาย ที่กดลงบนเข่าเมื่ออกกำลังจะทำให้มีอาการปวดเข่า หรือข้ออักเสบน้อยกว่าการวิ่งบนบก นอกจากนั้นแรงต้านของน้ำจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และใช้พลังงานมากกว่าการเดินบนบก
   - การเต้น Aerobic ในน้ำ( Water aerobics ) เพียงครั้งละ 20 นาทีก็สามารถทำให้หัวใจแข็งแรง
   - การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ( Water toning/strengthening training) โดยการเคลื่อนไหวร่างกายต้านกระแสน้ำ หรืออุปกรณ์เพื่อเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
   - การฝึกการเคลื่อนไหวของข้อ( Flexibility training)เพื่อให้ได้มีการเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่
   - ธาราบำบัด(Water therapy and rehabilitation) ใช้ในการบำบัดทางการแพทย์ เช่นการฝึกเดิน การลดอาการปวด
   - การทำโยคะในน้ำ (Water yoga and relaxation ) เป็นการฝึกโยคะในน้ำเพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และประคองการทรงตัว
   - การออกำลังในน้ำลึก( Deep-water exercise) เป็นการออกกำลังในน้ำลึกโดยที่เท้าไม่สัมผัสพื้น โดยใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัว
   - การวิ่งในน้ำลึก(Deep-water jogging/ running ) เหมือนกับการวิ่งบนบก แต่เท้าไม่สัมผัสพื้นโดยใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัว
   - การออกกำลังโดยใช้กำแพง( Wall exercises)
การว่ายน้ำ

การออกกำลังในน้ำสำหรับผู้ที่มีข้ออักเสบ
      ผู้ที่มีข้ออักเสบมักจะมีปัญหาเมื่อเวลาออกกำลังกาย เนื่องจากข้อจะได้รับแรงกระแทกจากการออกกำลัง ทำให้เกิดการอักเสบ และอาการปวดของข้อ การออกกำลังกายในน้ำจะช่วยลอปัญหาปวดข้อลงได้

ทำไมต้องออกกำลังในน้ำ
  - กระแสน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวด และอาการข้อติด
  - กระแสน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  - น้ำจะช่วยลดแรงกระแทกข้อจากการออกกำลัง ทำให้ลดการเสื่อมของข้อ
  - แรงต้านของน้ำจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
  - กระแสน้ำจะช่วยนวดให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

การออกกำลังในน้ำที่บ้าน
     หากท่านที่ชอบออกกำลังกายในน้ำ และรู้สึกว่าจะได้ประโยชน์ และท่านมีกำลังทรัพย์มากพอ ท่านอาจจะสร้างสระว่ายน้ำ หรืออ่างอาบน้ำที่สามารถฉีดน้ำอุ่นไว้ใช้ที่บ้าน ขนาดที่ซื้อจะต้องขึ้นกับชนิดของการออกกำลังกาย ถ้าเป็นสระก็สามารถเดินออกกำลังในน้ำ หากเป็นอ่างก็มีข้อจำกัดในการออกกำลัง

ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังในสระน้ำหรือ spa หรืออ่างน้ำอุ่น
   - ท่านต้องปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนที่จะใช้น้ำร้อนในการออกกำลังกาย
   - น้ำที่ใช้ควรมีอุณหภูมิระหว่าง 83 ถึง 88 F
   - น้ำที่ใช้สำหรับแช่ควรจะมีอุณหภูมิ 98ถึง 104 Fและแช่เป็นเวลา 10-15 นาที
   - ควรจะเริ่มที่อุณหภูมิไม่สูงก่อน และค่อยเพิ่ม
   - เด็กและผู้สูงอายุอาจจะเกิดปัญหาเรื่องอุณหภูมิในร่างกายสูงไป ต้องระวัง
   - สำหรับผู้สูงอายุ หรือมีข้ออักเสบ จะต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เวลาขึ้นหรือลงจากสระหรืออ่าง
   - สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
   - ควรตรวจอุณหภูมิของน้ำก่อน และระหว่างอยู่ในน้ำ
   - ไม่ควรใช้น้ำร้อนหลังจากดื่มสุรา เพราะอาจจะทำให้ท่านหมดสติ
   - คนท้องไม่ควรแช่น้ำร้อน

การนวดผ่อนคลายแบบง่ายๆ

ความเครียด เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง เลือดไหวเวียนไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหลัง เป็นต้น
การนวด จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง สบายตัว หายเครียด และลดอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ลง
การนวดที่จะนำเสนอในที่นี้ เป็นการนวดไทย ซึ่งสามารถนวดได้ด้วยตนเอง และเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า และไหล่ อันสาเหตุมาจากความเครียด

ข้อควรระวังในการนวด
1. ไม่ควรนวดขณะที่กำลังเป็นไข้ หรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอักเสบ หรือเป็นโรคผิวหนัง ฯลฯ
2. ควรตัดเล็บให้สั้นก่อนนวดทุกครั้ง

หลักการนวดที่ถูกวิธี
1. การกด ให้ใช้ปลายนิ้วที่ถนัด ได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ หรือนิ้วกลาง
2. ในที่นี้การนวดจะใช้การกด และการปล่อยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เวลากดแต่ละครั้งประมาณ 10 วินาที และใช้เวลาปล่อยนานกว่าเวลากด
3. การกดให้ค่อย ๆ เพิ่มแรงทีละน้อย และเวลาปล่อยให้ค่อย ๆ ปล่อย
4. แต่ละจุด ควรนวดซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง
จุดที่นวดมีดังนี้
1. จุดกลางระหว่างคิ้ว ใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง


2. จุดใต้หัวคิ้ว ใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง
3. จุดขอบกระดูกท้ายทอย จุดกลาง ใช้นิ้วหัวแม่มือกด 3-5 ครั้ง จุดสองจุดด้านข้าง ใช้วิธีประสานมือบริเวณท้ายทอย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดจุดสองจุดพร้อม ๆ กัน 3-5 ครั้ง
4. บริเวณต้นคอ ประสานมือบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดตามแนวสองข้างของกระดูกต้นคอ โดยกดไล่จากตีนผมลงมาถึงบริเวณบ่า 3-5 ครั้ง
5. บริเวณบ่า ใช้ปลายนิ้วมือขวาบีบไหล่ซ้าย ไล่จากบ่าเข้าหาต้นคอ ใช้ปลายนิ้วมือซ้ายบีบไหล่ขวา ไล่จากบ่าเข้าหาต้นคอ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
6. บริเวณบ่าด้านหน้า ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดจุดใต้กระดูกไหปลาร้า จุดต้นแขน และจุดเหนือรักแร้ของบ่าซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
7. บริเวณบ่าด้านหลัง ใช้นิ้วมือที่ถนัดของมือขวาอ้อมไปกดจุดบนและจุดกลางของกระดูกสะบัก และจุดรักแร้ด้านหลังของบ่าซ้าย ใช้นิ้วมือที่ถนัดของมือซ้าย กดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง