วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

   โรคเบาหวาน คือ ภาวการณ์ไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เกิด
เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ว่า ไม่สมดุล คือ มีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อยแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์
ได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับว่ามีอินซูลินน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่
เป็นพิษกับเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกาย

  คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักละเลยเรื่องของการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหาย

จากโรค เหมือนโรคทั่วไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด การใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุม
เบาหวานได้ ต้องรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน คือ



     • ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย
          • วุ้นเส้น ทำจากถั่ว สามารถบริโภคได้ประจำตามปริมาณที่กำหนด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น , แกงจืด, ยำวุ้นเส้น
เป็นต้น
          • ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก เป็นต้น
          • ผัก ผลไม้ การรับประทานผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ ต่อวัน จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแน่นอน การผัดผักให้อร่อยแต่ใช้
น้ำมันน้อย ๆ ทำได้โดยใช้น้ำต้มกระดูกแทนปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้บางส่วน เคล็ดลับของการเตรียมน้ำต้มกระดูก อยู่ที่ซี่โครงไก่ ที่ตัดมัน
และไส้ออกล้างให้สะอาด ต้มในน้ำเปล่า ใช้ซี่โครงไก่ 8 ขีด ต่อน้ำ 3 ลิตร ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวนาน 1- 1.5 ช.ม. เพื่อให้ได้น้ำที่ใสมีรสหวาน
หอม สำหรับใช้ผัดหรือต้มอาหารต่าง ๆ

ผลไม้ที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ
 - แก้วมังกร



ผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ

  • มะระขี้นก หั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา
          • ฟักทอง ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยให้อาการเบาหวานดีขึ้น นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง           
ลดอาหารเบาหวานได้
          • แตงกวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง

ประเภทน้ำนม


          • ควรเลือกดื่มชนิดจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ ปรับปรุงแต่งรส
          • นมพร่องมันเนย คือมีไขมันประมาณ 1.9% รับประทานได้
          • นมเปรี้ยว ควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
          • นมข้นหวาน ไม่ควรใช้นมชนิดนี้
          • นมถั่วเหลือง ชนิดหวาน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย เบาหวาน ควรทำเองโดยใช้แป้งถั่วเหลืองผสมกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้
ที่สลากหน้าถุง โดยใช้แช่น้ำให้พองและนำมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วน ถั่วเหลืองดิบ 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน แล้วคั้นเอาแต่น้ำไปต้มให้เดือด
10 นาที ก็ใช้ได้
          • น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล

เมนูอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เช่น




          1. แกงเลียงกุ้งสด
          2. ผัดสะตอกะปิใส่เต้าหู้
          3. ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้
          4. ยำมะเขือเผา
          5. ส้มตำมะละกอ
          6. น้ำพริกกะปิปลาทู

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

          • น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำตาลจากผลไม้
          • ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ลอดช่อง ฯลฯ
          • ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ
          • น้ำหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ ยกเว้น น้ำมะเขือเทศ นมรสหวานรวมทั้งน้ำอัดลมและ
          • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ (ถ้าดื่มกาแฟควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม แต่สามารถใช้
น้ำตาลเทียมได้บ้าง)
          • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล

          • ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย แขก ข้าวเม่าทอด

กลุ่มที่รับประทานได้..แต่จำกัดจำนวน

          • อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง มักกะโรนี
          • ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรือ อาหารทอดมันมากๆ ไขมัน มาก ๆ
          • ตลอดจนไขมันจากพืชบางชนิด เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน ข้าวโพด น้ำมันมะกอก
          • อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำตาล จากผลไม้
          • ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง กระเจี๊ยบ หัวปลี แครอท สะเดา ถั่วลันเตา หอม หัวใหญ่ ผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย
เงาะ มะละกอ
          • อาหารจากโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ ให้รับประทาน ปกติ หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน ไก่ติดหนัง

          • นมจืดพร่องไขมัน ควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น