ส่วนประกอบของหัวใจ
1. superior vena cava คือ เส้นเลือดที่รับเลือดเสียจากหัวและแขนมาที่ right atrium
2. inferior vena cava คือ เส้นเลือดที่รับเลือดเสียจากขาและอวัยวะในช่องท้องมาที่ right atrium
3. pulmonary semilunar valve คือ ลิ้นที่กั้นระหว่าง right ventricle กับเส้นเลือด pulmonary artery ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ right ventricle
4. right atrium คือ ห้องที่รับเลือดเสียจากเส้นเลือด vena cava
5. tricuspid valve คือ ลิ้นที่กั้นระหว่าง RA กับ RV ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ RA
6. right ventricle คือ ห้องที่รับเลือดจาก RA และส่งเลือดผ่าน pulmonary semilunar valve ไปที่ ปอด
7. pulmonary artery คือ เส้นเลือดที่รับเลือดดำจาก RV และส่งต่อไปฟอกที่ปอด
8. pulmonary vein คือ เส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดแดงจากปอดเข้าหัวใจ
9. left atrium คือ ห้องที่รับเลือดแดงจากปอด
10. bicuspid valve คือ ลิ้นที่กั้นระหว่าง LA กับ LV ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ LA
11. left ventricle คือ ห้องที่รับเลือดแดงจาก LA ผ่าน bicuspid valve และส่งไป aorta
12. aortic semilunar valve คือ ลิ้นที่กั้นระหว่าง LV กับ aorta ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ LV
13. aorta คือ เส้นเลือดที่รับเลือดดีจาก LV และส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
หลอดเลือดในร่างกายคนเราแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. หลอดเลือดแดง (Attery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงมีปริมาณออกซิเจนมาก ยกเว้น เลือดที่ส่งไปยังปอด ซึ่งเป็นเลือดดำมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มาก หลอดเลือดแดงมีผนังหนาและแข็งแรง เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันเลือดที่ถูกฉีดออกจากหัวใจ
2. หลอดเลือดดำ (Veins) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ เลือดอยู่ในหลอดเลือดนี้เป็นเลือดดำ มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มาก ยกเว้นเลือดที่นำจากปอดมายังหัวใจจะเป็นเลือดแดง และมีลิ้นป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
3. หลอดเลือดฝอย (Capollary) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กละเอียด เป็นฝอยติดต่ออยู่
ระหว่างแขนงเล็ก ๆ ของหลอดเลือดและหลอดเลือดแดง หลอดเลือดฝอยนี้มีผนังบางมาก ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว
ขณะหัวใจบีบตัว เลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดแดงด้วยความดันสูง ทำให้เคลื่อน
ที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจด้วยกัน ซึ่งขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนั้น จะมีความดันน้อยที่สุด
ความดันเลือด หมายถึง ความดันในหลอดเลือดแดงมีหน่วยเป็น มิลลิเมตรของปรอท มี
ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 120/80 มิลลิเมตรของปรอท
ตัวเลข 120 แสดง ค่าของความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
ตัวเลข 80 แสดง ค่าของความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจจะมีค่าประมาณ 100 + อายุ และ
ความดันเลือดขณะหัวใจรับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรของปรอท
เครื่องมือวัดความดันเลือด เรียกว่า มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเต็ทโทสโคป โดยวัดความ
ดันที่หลอดเลือดแดง
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด ได้แก่ อายุ เพศ ขนาดของร่างกาย อารมณ์ การทำงาน การออก
กำลังกาย และอริยาบถต่าง ๆ
ความดันโลหิตสูง มีสาเหตุมาจาก
1) หลอดเลือดตีบตัน โรคนี้เป็นกันมากในผู้สูงอายุ
2) ระดับไขมันในเลือดสูง
3) มีอารมณ์โกรธง่าย และมีจิตใจเครียดเป็นประจำ
การปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
คือ ควรลดอาหารที่มีรสเค็ม ลดความวิตกกังวล หลีกเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ชีพจร คือ การหดตัวและคลายตัวของหลอดเลือดในจังหวะเดียวกับการหดและคลายตัวของหัวใจ
ชีพจรสามารถวัดได้จากหลอดเลือดแดงที่อยู่ตื้น ๆ ใต้ผิวหนัง เช่น หลอดเลือดแดงที่ข้อมือข้างนิ้วหัวแม่มือ ซอกคอ ขาหนีบ เป็นต้น
อัตราชีพจรเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของร่างกาย อารมณ์ และสภาพร่างกาย